ความเป็นมาของบริษัท



บริษัท น้ำดื่ม ตรา ธาราทิพย์

           
บริษัทธาราทิพย์ จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556  เป็นบริษัทขนาดกลาง 

( SME ) ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำดื่ม ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ภายใต้ชื่อว่า ธาราทิพย์มีพนักงานทั้งหมด37 คน ฝ่ายบริหาร 12 คน ฝ่ายการตลาด 15 คน ฝ่ายจัดซื้อ 10 คน


นโยบายของบริษัท
        เพื่อเป็นผู้นำ ในด้านน้ำดื่ม ที่ลูกค้าทั่วประเทศให้การยอมรับแม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก ก็ตาม
ภารกิจหลักของบริษัท
1. เพื่อให้ผู้บริโภค ได้รับสิ่งค้า ที่สะอาดที่สุด ดีที่สุด
2. เพื่อให้ลูกค้า วางใจในบริการของบริษัท น้ำดื่มธาราทิพย์ และมีการใช้บริการในครั้งต่อๆไ

วัตถุประสงค์ของบริษัท
1. เพิ่มยอดขายในแต่ละเดือน ให้มากขึ้น
2. เพื่อให้สินค้าของบริษัท เป็นที่รู้จักมากที่สุด

โครงสร้างองค์กร





หน้าที่และปัญหาแต่ละแผนก
ประกอบด้วย
1. แผนกประชาสัมพันธ์  ทำหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัทธาราทิพย์ ติดต่อ ประสานงานลูกค้า ให้บริการลูกค้ารวมถึงการให้คำแนะนำ คำปรึกษาต่างๆที่ลูกค้าต้องการ
            ปัญหาแผนกประชาสัมพันธ์ 

            1. ทำให้การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงต่อการทำงานในบริษัท
            2. ลูกค้าไม่เข้าใจ รายละเอียดของสินค้า
            3. ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าลำบาก
           
4. ลูกค้าไม่พึ่งพอใจต่อการให้บริการของพนักงาน
2. แผนกบุคลากร ทำหน้าที่ ในการจัดการ  ดูแล  งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน  การดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน  การลงโทษพนักงาน  การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงาน
            ปัญหาแผนกบุคลากร 
            1. พนักงานมาไม่ตรงต่อเวลา  
            2. ออกจากงานโดยไม่มีสาเหตุ ไม่แจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้า
           
3. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก 
           
4. มีการเกียงกันทำงาน
            5. มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงาน
3. แผนกการขายและการตลาด  ซึ่งแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายการตลาดและฝ่ายการขาย
ฝ่ายการตลาด ทำหน้าที่ กำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้า กำหนด ยอดขายในลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ฝ่ายการขายดำเนินการต่อ ส่งเสริมการขายสินค้า
ฝ่ายการขาย ทำหน้าที่ รวบรวมรายชื่อลูกค้า จัดเตรียมเอกสารต่างๆที่อธิบายรายละเอียดของสินค้า
            ปัญหาแผนกการขายและการตลาด 
           
1. ใช้เงินลงทุนสูงในการโฆษณาสินค้า  เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก
           
2. ทำยอดการขายไม่ตรงตามเป้าหมาย
           
3. มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น  ทำให้ยากต่อการขายตามเป้าหมาย
           
4. ต้นทุนในการซื้อบรรจุภัณฑ์สูง 
4. แผนกการเงินและการบัญชี   ทำหน้าที่ ดูแลการเงินของบริษัท ตรวจสอบการใช้จ่าย รายรับ รายจ่ายของบริษัท รายละเอียดของการใช้เงินแต่ละแผนก จัดทำบัญชีต่างๆของบริษัท
            ปัญหาแผนกการเงินและการบัญชี 
           
1. เกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
           
2. ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรขาดทุน
           
3. จัดสรรเงินแต่ละแผนกไม่เท่ากันจัดสรรได้รับ รายจ่ายได้ยาก
           
4. เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร อาจเกิดการทุจริตได้ง่าย
5. แผนกคลังสินค้า ทำหน้าที่รับสินค้า ตรวจสอบจำนวน แยกแยะสินค้า เมื่อทางแผนกผลิต ทำผลิตภัณฑ์สำเร็จ ฝ่ายนี้ จะมีการบรรจุ จัดทำป้ายบอกผลิตภัณฑ์
           
ปัญหาแผนกคลังสินค้า
           
1. เกิดการผิดพลาดในการเช็คสต็อก
           
2. บรรจุภัณฑ์มีร่องรอยการเสียหาย
           
3. การจัดเก็บสินค้าไม่เป็นระเบียบยากต่อการค้นหา
           
4. เกิดอุบัติเหตุในการเช็คสต็อกทำให้สินค้าเสียหา
6. แผนกการผลิต ทำหน้าที่ผลิต   ผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัท
            ปัญหาแผนกการผลิต 
           
1. การผลิตสินค้ามากเกินไปทำให้คุณภาพของน้ำลดลง
           
2. ผลิตสินค้าไม่ทันกำหนดการส่ง
           
3. เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตขัดข้อง
           
4. บรรจุภัณฑ์ไม่เพียงพอต่อการผลิต

ปัญหาระหว่างแผนก
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกประชาสัมพันธ์
            - บัญชีและการเงินไม่สามารถทำเรื่องเบิกจ่ายให้ได้ หากประชาสัมพันธ์ไม่แจ้งยอดของบประมาณในการประชาสัมพันธ์
ปัญหาแผนกบัญชีกับแผนกบุคคล
            ฝ่ายบัญชีไม่ทราบชั่วโมงการทำงานของพนักงาน เนื่องจากฝ่ายบุคคลไม่แจ้งให้ถี่ถ้วน
            - บัญชีและการเงินจะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้พนักงานไม่ได้ หากแผนกบุคคลไม่แจ้งชั่วโมงการทำงานของพนักงานให้ทราบ
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกการขาย

            - ถ้าการขายแจ้งยอดการสั่งซื้อสินค้า ยอดขายสินค้าไม่ถูกต้องทำให้ฝ่ายบัญชีเกิดความผิดพลาดไปด้วย
            - บัญชีและการเงินไม่สามารถประเมินยอดขายสินทั้งหมดได้ แล้วสรุปยอดทั้งหมดได้ เนื่องจากฝ่ายขายไม่ส่งยอดมาให้
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกบัญชี
            - บุคคลจะได้รับเงินไม่ถูกต้อง หากบัญชีและการเงินจ่ายเงินมาให้ไม่ครบถ้วน
            - ฝ่ายบุคลไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีที่ถูกต้อง
ปัญหาระหว่างแผนกการขายกับแผนกประชาสัมพันธ์
            - การขายอาจจะมียอดขายต่ำ หากไม่ได้รับประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและทั่วถึง

ปัญหาระหว่างแผนกการขายกับแผนกบุคคล
            -การขายไม่สามารถทำได้ หากไม่มีพนักงานขาย
สรุปปัญหาทั้งหมด
1. การประชาสัมพันธ์ ทำได้ค่อนข้างลำบาก มีปัญหาในการติดต่อ สื่อสารกับลูกค้า ทำให้ลูกค้า ไม่พอใจ ในบริการ
2. พนักงานเข้างานไม่ตรงเวลา ทำให้การผลิตสินค้า มีความล่าช้า ไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า
3. พนักงาน มีปัญหากัน เกิดการเกี่ยงกันทำงาน
4. บุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงานที่มี
5. ใช้เงิน ในการลงทุนทำผลิตภัณฑ์สูง เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น
6. มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น
7. พนักงาน ลาหยุดบ่อย โดยไม่ทราบสาเหตุ
8. ต้นทุน ในการซื้อบรรจุภัณฑ์ สูง
9. เกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
10. เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร ทางบัญชีได้ง่าย
11. เกิดความผิดพลาดในการเช็คสต็อกของ
12. จัดเก็บสินค้าไม่เป็นระเบียบ ยากต่อการค้นหา
13. เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า เกิดความเสียหาย

ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1. ระบบบัญชี
2. ระบบงานบุคคล
3. ระบบจัดซื้อ
4. ระบบจัดเก็บข้อมูล
5. ระบบส่งเสริมการขายและการจองสินค้า
ตารางแสดงรายการ การทำงาน  (Functions) ทางธุรกิจทั้งของบริษัท



          แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activities) ของหน้าที่การทำงาน (Functions) ในบริษัท
แผนกบัญชี
           
-จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
           
- ควบคุม การโอน-การฝากเงินของศูนย์รถ
           
- ตรวจสอบใบเสร็จต่างๆ
           
- คิดคำนวณภาษีดอกเบี้ย ภาษีมูลค่าลดหย่อนภาษี
แผนกบุคคล
             -จัดทำประวันติของพนักงาน
           
- จ่ายเงินเดือน สวัสดิการ ประกันสังคม โบนัส โอที โบนัสต่อปี
           
- กำหนดค่าตอบแทนในการทำงาน
           
- จัดสรรผลประโยชน์ให้กับบุคลากรจัดสวัสดิการและเงินตอบแทน
แผนกประชาสัมพันธ์
            -เก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ
           
- อธิบายรายละเอียดของสินค้าที่ลูกค้าสนใจ
           
- บริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า
           
- ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริษัท
           
- ประเมินความพึงพอใจ
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Function-to-Data Entities)


เกณฑ์ในการตัดสินใจ
                1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
                2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
                3. เพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัท
                4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
                5. เพิ่มผลกำไร
                6. เน้นสินค้าให้ได้มาตรฐาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น