ระบบการคลัง

ระบบการคลัง
ผู้จัดการฝ่ายคลัง
-                 -   สามารถเรียกดูข้อมูลออเดอร์จากระบบการขายได้ แต่ไม่สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขได้
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลการเพิ่ม ลบ แก้ไข สินค้าย้อนหลังได้
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลการเบิกสินค้าย้อนหลังได้
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าคงเหลือได้
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลการเพิ่มสินค้าย้อนหลังได้
พนักงานคลัง
-                 -  สามารถเพิ่มลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าในคลังได้
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าคงเหลือได้
-                 -  สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าได้
-                 -  สามารถทำใบเบิกสินค้าได้

การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบพัฒนาระบบการคลังมาใช้งาน
             หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิม และความต้องการของระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว จากนั้น จึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มานำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ 
         แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิ้น 3 ทางเลือก


ทางเลือกที่ 1 : ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมโดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
                ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ A มาใช้งานเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด



แนวทางเลือกที่ 3: ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางต่อไปนี้
การประเมินแนวทางเลือกที่ 3 ไม่มีในที่นี้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ
       สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3
                ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 6 เดือน และมี
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าสา รองฉุกเฉิน เป็นต้น)

เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทาง จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณา เลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือกโดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหารโดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้

สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
(In-House Development) เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุดนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้วยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัทพร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรงคอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
                นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบการคลังบริษัทเพื่อลดภาระของฝ่ายการคลัง
วัตถุประสงค์
โครงการการพัฒนาระบบการคลังมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาให้เป็นระบบการคลังที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบการคลังของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยใช้ทีมงามเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการพร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
·  ระบบจะต้องรองรับการทางานแบบ Multi-User ได้
·  ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
·  ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
·  ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยามากที่สุด
ความต้องการในระบบใหม่ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้คือ
·  ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
·  สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
·  สามารถเพิ่มแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
·  สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
·  การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่นฝ่ายจัดส่ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
·  บริษัทสามารถตรวจสอบแก้ไขรายการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าได้
·  บริษัทสามารถทราบยอดการเบิกสินค้าออกจากคลังได้
·  บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นงานของระบบการคลังในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
·  การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
·  ลดระยะเวลาในการทำงาน


แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบของบริษัท ธาราทิพย์ จำกัดเป็นการพัฒนาระบบในส่วนของแผนกการคลังในส่วนของการทำงานเกี่ยวกับการคลังต่างๆ เช่น เช็คสินค้าในคลังเพื่อลดภาระของฝ่ายการคลังตามความต้องการในระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวและผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้น จึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
1.  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2.  การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3.  การวิเคราะห์ระบบ
4.  การออกแบบเชิงตรรกะ
5.  การออกแบบเชิงกายภาพ
6.  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7.  การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่ 1  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัทเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร ดังนั้น จึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบ คือ บริษัท ธาราทิพย์ จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
      ·  ระบบการคลัง

ขั้นตอนที่ 2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงานซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
·  เริ่มต้นทำโครงการก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·  กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·  วางแผนการทำงานของระบบใหม่

ขั้นตอนที่ 3  การวิเคราะห์
1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิมดูว่าการทางานของระบบการคลังมีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมและระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการตรวจสอบสินค้า
2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่ 4  การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงานซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 5  การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่างๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบการรายงานข้อมูลสินค้าย้อนหลังฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้นซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป

ขั้นตอนที่ 6  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
·  เขียนโปรแกรม
·  ทดสอบโปรแกรม
·  ติดตั้งระบบ
·  จัดทำเอกสารสรุปผลการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่ 7  การซ่อมบำรุงระบบ
อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้วเราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องพัฒนาระบบการคลังมีส่วนที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมายคือบุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 คนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังต่อไปนี้
-นักวิเคราะห์และออกแบบระบบทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์จัดทำเอกสารของระบบทดสอบโปรแกรมของระบบและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
-โปรแกรมเมอร์ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบรวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ

ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน7 เครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 2 เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพวง 7 ชุด (ตามความเหมาะสม)

ประมาณการใช้งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนสำหรับทีมพัฒนาระบบ                          100,000                บาท
2. ค่าอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน                             80,000                  บาท
3. ค่าบำรุงรักษาระบบ                                                        50,000                  บาท
รวม                                                                                        230,000                บาท

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
                ระยะเวลาดำเนินการจัดทำระบบรายรับ
-รายจ่ายประมาณการว่าจะต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคมมิถุนายน 2557 ซึ่งระยะเวลาที่ประมาณการนี้รวมเพื่อเวลาที่ต้องสูญเสียไปกรณีมีเหตุไม่คาดคิด



ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบการคลังได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิมความต้องการในระบบใหม่ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
·  สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
·  สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังได้
·  สามารถเพิ่มแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
·  สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
·  ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน



ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบระบบพัฒนาระบบการคลัง บริษัท ธาราทิพย์ จำกัด
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่(System Requirement Structuring)

Context Diagram คลังสินค้า
อธิบาย Context Diagram คลังสินค้า
เริ่มแรกการเข้าใช้โปรแกรมโดยที่จะต้องทำการ Login ใช้งานระบบก่อน
Context Diagram นี้จะเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและผู้จัดการฝ่ายการคลังโดยที่
พนักงาน  
        พนักงานคลังจะป้อนข้อมูลต่างๆให้กับระบบคลังสินค้าคือ
1. เพิ่มข้อมูลสินค้า
2.  ลบข้อมูลสินค้า
3. แก้ไขข้อมูลสินค้าเมื่อมีการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลเข้าสู่ระบบคลังสินค้าระบบก็จะมีการยืนยันบอกกลับมาที่พนักงาน
4. เรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังได้และสามารถดูรายละเอียดของสินค้าแต่ละชิ้นได้ เช่นชื่อราคาประเภทและจำนวนที่มี
5.  เพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลังเมื่อพนักงานทำการเพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลังระบบคลังสินค้าก็จะมีการทำรายงานรายงานข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลังกลับมาให้พนักงาน
6. เพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลังเมื่อพนักงานทำการเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลังระบบคลังสินค้าจะทำการทำใบเบิกสินค้าออกจากคลังมาให้ที่พนักงาน
ผู้จัดการฝ่ายการคลัง  
        ผู้จัดการฝ่ายการคลังผู้จัดการจะไม่ใช่คนที่เพิ่มข้อมูลแต่จะเป็นผู้ที่เรียกดูข้อมูลที่พนักงานได้ทำการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลต่าง คือ
1.  เรียกดูข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลัง
2.  เรียกดูข้อมูลจำนวนสินค้าทั้งหมดในคลัง
3.  เรียกดูข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง

Data Flow Diagram Level 0















อธิบาย Dataflow Diagram Level 0 
       จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 4 ระบบ ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.0 เป็นระบบการเข้าใช้งานระบบโดยที่จะต้อง Login เข้าใช้งานระบบก่อนจึงเข้าไปใช้งานระบบอื่นๆได้
Process 2.0 ระบบเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าเป็นระบบจัดการเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมดสามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้เมื่อพนักงานคลังทำการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าโดยที่กรอกข้อมูลเข้าระบบเมื่อมีข้อมูลเข้ามาที่ระบบระบบจะทำการนำข้อมูลที่ได้รับไปบันทึกที่แฟ้มข้อมูลของข้อมูลสินค้าแล้วระบบก็จะทำการส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลสินค้ากลับมาที่พนักงานและถ้าพนักงานต้องการแก้ไขข้อมูลสินค้าจะต้องเรียกดุข้อมูลที่ต้องการแก้ไขก่อน แล้วจึงทำการแก้ไขได้จากนั้นระบบจะทำการบันทึกการแก้ไขพร้อมกับส่งการยืนยันการแก้ไขข้อมูลกลับมาที่พนักงาน
Process 3.0 ระบบเพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลังเป็นระบบที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้าซึ่งระบบจะทำงานโดยที่พนักงานเพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้าว่ามีสินค้าอะไรบ้างประเภทอะไรบ้างจำนวนเท่าไร ระบบจะนำข้อมูลไปจัดเก็บเข้าแฟ้มข้อมูลของข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลังแล้วระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลการนำสินค้าเข้าเก็บในคลัง

Process 4.0 ระบบเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลังเป็นระบบหน้าที่ในการออกใบเบิกสินค้าออกจากคลังโดยที่ให้พนักงานทำการเพิ่มข้อมูลสินค้าที่ต้องการเบิกลงในระบบการเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลังแล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลจากนั้นระบบจะทำการออกใบเบิกสินค้าให้กับพนักงาน
Process 5.0 ระบบสรุปข้อมูลทั้งหมดเป็นระบบที่เหมือนกับการทำรายงานสรุปข้อมูลต่างโดยต้องเรียกดูข้อมูลจากระบบระบบจะดึกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลมาแสดงและสามารถทำรายงานสรุปข้อมูลต่างๆได้


Data flow Diagram Level 1 of Process 1.0 ระบบ การ Login เข้าใช้งาน
Data flow Diagram Level 1 of Process 2.0 ระบบเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้า
Data flow Diagram Level 1 of Process 3.0 ระบบเพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้า
Data flow Diagram Level 1 of Process 4.0 ระบบเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง
Data flow Diagram Level 1 of Process 5.0 ระบบสรุปข้อมูลทั้งหมด
อธิบาย Data flow Diagram Level 1
Process 1.1 เป็นการรับข้อมูลเข้ามาตรวจเช็คกับฐานข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่เพื่อเป็นการป้องกันการแอบอ้างการเข้าใช้งานระบบ
Process 1.2 เมื่อเกิดการผิดพลาดระบบจะแจ้งกลับว่าการเข้าระบบผิดพลาดจะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้
Process 1.3 เมื่อมีการเข้าใช้งานระบบสำเร็จระบบจะทำการแจ้งกลับว่าเข้าระบบสำเร็จแล้วก็จะเริ่มใช้งานระบบต่างๆที่มีได้
Process 2.1 ได้รับข้อมูลการเพิ่มสินค้าจากพนักงานจะนำข้อมูลไปบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลสินค้าและจะส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลกลับไปให้พนักงาน
Process 2.2 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากพนักงาน Process 1.2 จะทำการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาแสดงให้พนักงานและจะส่งต่อให้ Process ถัดไป
Process 2.3 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถแก้ไขข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.3จะทาการส่งข้อมูลที่ถูกแก้ไขไปบันทึกทับข้อมูลเดิมที่แฟ้มข้อมูลสินค้า
Process 2.4 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถลบข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.4 จะทำการลบข้อมูลที่ถูกเลือกออกจากแฟ้มข้อมูลสินค้า
Process 3.1 เมื่อได้รับการเพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเข้าเก็บที่คลัง Process 2.1 จะทาการเพิ่มข้อมูลกานำสินค้าเข้าคลังลงแฟ้มข้อมูล
Process 3.2 เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลจาก Process 2.1 แล้วเก็บบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล Process 2.2 จะทำการนำข้อมูลที่ถูกบันทึกมาพิมพ์รายงานส่งกลับไปให้กับพนักงาน
Process 4.1 เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง Process 3.1 จะทำการนาข้อมูลที่ไดรับมาไปบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลการเบิกสินค้าอกจากคลัง
Process 4.2 เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลจาก Process 3.1 แล้วเก็บบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล Process 3.2 จะทำการนำข้อมูลที่ถูกบันทึกมาพิมพ์ใบเบิกสินค้าส่งกลับไปให้พนักงาน
Process 5.1 จะทำการเรียกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลทั้งหมดออกมาแสดงเมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มProcess 5.2 จะทาการพิมพ์รายงานสรุปข้อมูลต่างๆที่ถูกเรียกดูออกมาจากแฟ้มข้อมูลให้กับผู้จักการฝ่ายการคลัง



โครงสร้างฐานข้อมูลระบบคลังสินค้าได้มีการจัดการสร้างตารางเพื่อสร้างความสัมพันธ์กันของข้อมูลโดยมีตารางดังต่อไปนี้
ตารางUser_stockใช้จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานระบบโดยจะใช้ในการตรวจสอบของ Process Login

ตาราง Product ใช้จัดเก็บข้อมูลสินค้า
ตาราง Product_typeใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทสินค้า
ตาราง Picking ใช้จัดเก็บข้อมูลการเบิกสินค้า


ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface

1. หน้าเข้าสู่ระบบ
2.หน้าเมนูหลัง

เมื่อเข้าล็อกอินสำเร็จก็จะเข้ามาที่หน้าเมนูหลักจะมีปุ่มเมนู เลือกการทำงานของโปรแกรม และสามารถออกจากโปรแกรมได้โดยการกดปุ่ม logout

3.หน้าตาโปรแกรมเพิ่มลบแก้ไข
หน้าตาโปรแกรมที่สามารถทำการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าได้โดยการกดปุ่มเพิ่มปุ่มลบและปุ่มแก้ไขโดยข้อมูลที่เพิ่มจะต้องมีชื่อสินค้าราคาสินค้าจานวนสินค้าประเภทสินค้าสามารถกดปุ่มพิมพ์เอกสารเพื่อทำการพิมพ์เอกสารออกมา


4.หน้าตาโปรแกรมการนำสินค้าเก็บในคลัง
หน้าตาโปรแกรมการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังจะเป็นการเพิ่มข้อมูลชื่อสินค้าที่จะนำเก็บในคลังจำนวนสินค้าโดยจะสามารถเพิ่มลบแก้ไขได้และสามารถสั่งพิมพ์ได้


5.หน้าตาโปรแกรมการเบิกสินค้าออกจากคลัง
หน้าตาโปรแกรมการเบิกสินค้าออกจากคลังโดยการเพิ่มข้อมูลสินค้าที่จะนำออกจากคลังและสามารถเพิ่มลบแก้ไขรายการได้แล้วจะสามารถสั่งพิมพ์ได้


6.หน้าจอโปรแกรมสรุปข้อมูลทั้งหมด
โปรแกรมสามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดได้โดยการกดปุ่มกำหนดข้อมูลเพิ่มดุข้อมูลที่ต้องการเลือกดูแล้วสามารถพิมพ์ออกมาเป็นรายงานได้


ขั้นที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบระบบ
ทีมงานได้จัดทำเอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบคลังสินค้าเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้นโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้แนะนำโปรแกรมระบบรายรับ-รายจ่าย
    โปรแกรมระบบคลังสินค้าเป็นโปรแกรมที่ทาซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 4 ระบบได้แก่
1.   ระบบการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าของบริษัทสามารถเพิ่มลบแก้ไขบันทึกข้อมูลของสินค้าในคลังได้
2. ระบบการเพิ่มข้อมูลการเพิ่มสินค้าในคลังเพื่อเก็บข้อมุลการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังจะทำให้ทราบถึงยอดการมีอยู่ของสินค้าในคลังว่ามีจำนวนเท่าไหร่
3. ระบบการเบิกสินค้าเป็นระบบที่จะออกใบเบิกสินค้าให้กับพนักงานโดยการเพิ่มข้อมูลลงในระบบจะทำการพิมพ์ใบเบิกสินค้าให้กับพนักงานและจัดเก็บข้อมูลการเบิกสินค้าลงฐานข้อมูล
4. ระบบสรุปรายงานเป็นระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดในระบบและสามารถสั่งพิมพ์รายงานออกมาในรูปแบบรายงาน
การติดตั้งระบบทีมงานเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบขนาน คือ การใช้ระบบใหม่และระบบเก่าไปพร้อมๆกันเพราะทีมงานที่พัฒนาระบบได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงานเพราะถ้าหาวางระบบใหม่ทั้งหมดทีเดียว อาจทำให้การดำเนินงานเกิดการขัดข้องได้จึงเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบขนาน



ขั้นที่ 7
การซ่อมบำรุง
การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง เมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็วหลังเกิดปัญหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น