ระบบการขนส่ง


ผู้จัดการฝ่ายขนส่ง
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลการส่งสินค้าได้
-                 -  สามารถเรียกดูข้อมูลสถานะ การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าได้
พนักงานฝ่ายขนส่ง
-                  - สามารถทำเรียกดูข้อมูลจากระบบการขายได้ แต่ไม่สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลได้ ดูได้อย่างเดียว

การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบพัฒนาระบบการขายและการตลาดมาใช้งาน
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและความต้องการของระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว จากนั้น จึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มานำเสนอให้ผู้บริหาร และผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
    
แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิ้น 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 : ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป มีรายละเอียดดังนี้

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
                ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง


สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3

ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 6 เดือน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 230,000 บาทค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าสำรองฉุกเฉิน )



เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม


ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้ง สาม แนวทาง จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณา เลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังนี้




สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development) เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้



ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

เป้าหมาย

นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบฝ่ายขนส่ง บริษัทเพื่อลดภาระของพนักงานขนส่ง


วัตถุประสงค์

โครงการการพัฒนาระบบฝ่ายขนส่ง มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบพนักงานขนส่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ


ขอบเขตของระบบ

โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบฝ่ายขนส่งของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยใช้ทีมงามเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

·  ระบบจะต้องรองรับการทางานแบบ Multi-User ได้
·  ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
·  ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
·  ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด

ความต้องการในระบบใหม่
     ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
·  ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
·  สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การขนส่งสินค้า และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้
·  สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
·  การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่าย เช่น พนักงานขนส่ง

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
·  บริษัทสามารถทราบว่าการส่งของถึงลูกค้าในระยะเวลาที่ต้องการ และครบถ้วนได้
·  บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
·  ขั้นตอนการทำงานของระบบการคลังในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
·  การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
·  ลดระยะเวลาในการทำงาน


แนวทางในการพัฒนา
                การพัฒนาระบบของบริษัท ธาราทิพย์ จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วน ของแผนกฝ่ายขนส่งในส่วนของการทำงานเกี่ยวกับฝ่ายขนส่ง ต่างๆ เช่นเช็ค พนักงานขนส่งสินค้า เพื่อลดภาระของฝ่ายขนส่งสินค้าตามความต้องการในระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
1.  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2.  การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3.  การวิเคราะห์ระบบ
4.  การออกแบบเชิงตรรกะ
5.  การออกแบบเชิงกายภาพ
6.  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7.  การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่ 1  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
          ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัท ธาราทิพย์ จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
· ระบบขนส่ง

ขั้นตอนที่ 2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมาก ที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ ดังนี้
·  เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·  กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·  วางแผนการทำงานของระบบใหม่


ขั้นตอนที่ 3  การวิเคราะห์
1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของระบบการคลัง มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการตรวจสอบสินค้า
2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่ 4  การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้ เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 5  การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบการรายงานข้อมูลสินค้าย้อนหลัง ฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป

ขั้นตอนที่ 6  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
·  เขียนโปรแกรม
·  ทดสอบโปรแกรม
·  ติดตั้งระบบ
·  จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ

 ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

แผนการดำเนินงานของโครงการ
    แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องพัฒนาระบบการขนส่ง มีส่วนที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
-  ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
-  ประมาณการใช้ทรัพยากร
-  ประมาณการใช้งบประมาณ
-  ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 คนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ

ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
1.  เครื่องแม่ข่าย server  จำนวน 1 เครื่อง
2.  เครื่องลูกข่าย (Workstation)  จำนวน7 เครื่อง
3.  เครื่องพิมพ์ (Printer)  2 เครื่อง
4.  อุปกรณ์ต่อพวง 7 ชุด  (ตามความเหมาะสม)

ประมาณการใช้งบประมาณ
1.  ค่าตอบแทนสำหรับทีมพัฒนาระบบ           120,000                บาท
2.  ค่าอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน                75,000                บาท
3.  ค่าบำรุงรักษาระบบ                                      35,000                บาท
รวม                                                      230,000                บาท

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินการจัดทำระบบรายรับ-รายจ่าย ประมาณการว่าจะต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน มกราคมมิถุนายน 2557 ซึ่งระยะเวลาที่ประมาณการนี้รวมเพื่อเวลาที่ต้องสูญเสียไป กรณีมีเหตุไม่คาดคิด


ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ

เมื่อโครงการพัฒนา ระบบการขนส่ง ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
     ความต้องการในระบบใหม่
            ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
·  สามารถเรียกดูสถานการณ์ส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ ว่าส่งหรือ ยัง
·  สามารถออกใบยืนยันการรับของได้
·  สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
·  ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน



ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ

แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ ระบบพัฒนาระบบการขนส่ง บริษัท ธาราทิพย์ จำกัด
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่  (System Requirement Structuring)

 อธิบาย Context Diagram ระบบการขนส่ง

จะเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและผู้จัดการฝ่ายการขนส่ง โดยที่
พนักงาน     
       -  พนักงานจะป้อนข้อมูล สถานการณ์จัดส่ง เข้าสู่ระบบจัดส่ง แล้วระบบจะทำการส่ง ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้ากลับมา และ พนักงานสามารถทำใบเบิกสินค้า ได้เพื่อนำสินค้าไปส่งให้พนักงาน
ผู้จัดการฝ่ายการขนส่ง      
       -  สามารถทำการเรียกดูข้อมูลสถานการณ์จัดส่งสินค้าได้ ระบบก็จะส่งรายงานสถานการณ์จัดส่งสินค้า ให้กับผู้จัดการการขนส่ง
ลูกค้า     
       -  จะได้รับข้อมูลการยืนยัน สถานะ การส่งของจากระบบ

Data Flow Diagram Level 0


อธิบาย Dataflow Diagram Level 0
   Process 1.0

         เป็นระบบการเข้าใช้งานระบบโดยที่จะต้อง Login เข้าใช้งานระบบก่อนจึงเข้าไปใช้งานระบบอื่นๆได้
  Process 2.0  

    ระบบขนส่งนั้น พนักงานจะเพิ่มข้อมูลสถานะเข้าสู่ระบบแล้วระบบจะทำการส่งข้อมูลรายการสั่งซื้อของ ลูกค้าคนนั้นมา แล้วจะนำข้อมูลสถานะที่ถูกเพิ่มไปเก็บไว้ที่ไฟล์ข้อมูล การสั่งซื้อของลูกค้าอยู่
ผู้จัดการฝ่ายขนส่งก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลรายงานการจัดส่งได้  Process 3.0

       เป็นการแจ้งสถานะไปที่ลูกค้าว่าสถานะนี้ คือ ส่งของในออเดอร์ นี้ให้กับลูกค้าหรือยัง เมื่อพนักงานเพิ่มข้อมูลให้กับออเดอร์ของลูกค้าว่าส่งแล้ว ระบบจะทำการส่งสถานการณ์ส่งของไปให้กับลูกค้า
  Process 4.0

        เป็นระบบที่มีไว้สำหรับการทำใบเบิกสินค้าออกจากคลัง



Data Flow Diagram Level 1 Process 1.0 การเข้าใช้งานระบบ
Data Flow Diagram Level 1 Process 2.0 เพิ่มข้อมูลสถานะ การจัดส่ง
Data Flow Diagram Level 1 Process 3.0 แจ้งสถานะไปที่ลูกค้า
Data Flow Diagram Level 1 Process 4.0 เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลการเบิกสินค้า

อธิบาย Dataflow Diagram Level 1
Process 1.1  
     เป็นการตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบโดยจะทำการตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้งานและรหัสผ่านว่าตรงกับข้อมูลในฐานข้อมูลผู้ใช้หรือไม่
Process 2.1  
    จะทำการเพิ่มข้อมูลสถานะที่ได้จากพนักงานไปบันทึกลงในฐานข้อมูลว่าออเดอร์ไหนที่จัดส่งของแล้ว หรือยังไม่ได้จัดส่ง
Process 2.2  
        จัดทำรายงานเมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากผู้จัดการฝ่าย แล้วจะทำการดึงข้อมูลจาก ฐานข้อมูล มาทำเป็นรายงาน
Process 3.1  
      เมื่อพนักงานเพิ่มข้อมูลให้กับออเดอร์ของลูกค้าว่าส่งแล้ว ระบบจะทำการส่งสถานการณ์ส่งของไปให้กับลูกค้า
Process 4.1  
       เมื่อพนักงานทำการเพิ่มลบ แก้ไข ข้อมูล ระบบจะทำการ เพิ่ม ลบ และแก้ไข ข้อมูลลงใน ตารางเบิกสินค้า
Process 4.2  
       จะทำการดึงข้อมูลจากตารางข้อมูลมาทำการพิมพ์ใบเบิกสินค้า




ขั้นที่ 5 การออกแบบโปรแกรม


หน้า Login พนักงานขนส่งสินค้าทำการ Login เพื่อเข้าสู่ระบบ


รูปภาพการพิมพ์ใบรับสินค้า การขนส่งสินค้า





หน้าตาโปรแกรมเมื่อเลือกเมนู ใบเบิกสินค้า จะสามารถเพิ่มลบ แก้ไข รายการการเบิกสินค้าได้เมื่อพิมพ์จะได้ ออกมาเป็นใบเบิกสินค้าดังรูปด้านล่าง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น